เที่ยวเขาใหญ่ เอาตัวรอดอย่างไรเมื่อเจอช้างป่า
01 พ.ค. 2023
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติที่แรกของประเทศไทย เรียกได้ว่าเป็นมรดกทางธรรมชาติของไทยและของโลก แหล่งท่องเที่ยวที่ใกล้ชิดธรรมชาติ ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพไม่นาน ที่นี่รายล้อมไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเดินป่า แคมป์ปิ้ง ที่พักกางเต็นท์ ลานกางเต็นท์ ที่สามารถออกมา พักผ่อนกับเพื่อนและครอบครัว สไตล์ดื่มด่ำกับธรรมชาติอย่างใกล้ชิด
ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของเขาใหญ่นี้ มีทั้งพืชพรรณและสัตว์มากมายหลายสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็น หวายแดง เครือพูเงิน หรือ โมลีสยาม ในส่วนของสัตว์ป่า ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พบได้มากถึง 70 ชนิด เช่น ช้างป่า กระทิง หมาใน เก้ง กวาง ชะนีมือขาว ลิงกัง แมวลายหินอ่อน หมีควาย และเลียงผา รวมถึงสัตว์หายากอีกมากมาย และวันนี้เราจะมาพูดถึงช้างป่า เจ้าถิ่นเขาใหญ่ กัน
ช้างป่า (Asian Elephat) เป็นสัตว์กินพืชขนาดใหญ่ จะชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ตั้งแต่ 5-7 ตัวไปจนถึงขนาดใหญ่ เกือบ 30 ตัวเลยทีเดียว โดยช้างพังที่มีอายุมาก จะเป็นผู้นำฝูง เจ้าช้างป่าพวกนี้สามารถพบได้ในป่าแทบทุกประเภท โดยฝูงช้างจะออกหากินแต่ละวัน ใช้เวลาถึง 16-18 ชั่วโมง
ปัจจุบันช้างป่ากำลังเพิ่มจำนวนขึ้น ในหลายๆ อุทยานแห่งชาติ เราจึงมีโอกาสที่จะพบช้างได้บ่อยขึ้น เวลาไปทริปเดินป่า หรือไปกางเต็นท์ในเขตอุทยานแห่งชาติต่างๆ เวลาเจอแล้วหลายคนอาจจะตระหนก ตกใจ ทำตัวไม่ถูก
แต่นิสัยเบื้องต้นโดยธรรมชาติของ “ช้าง” เป็นสัตว์ที่ฉลาด สุภาพ ชอบความเป็นส่วนตัว มีอารมณ์ ความรู้สึกหลายอย่างเหมือนกับมนุษย์ อาจจะมีนิสัยดุร้ายได้บ้างใน เวลาตกมัน
เที่ยวเขาใหญ่ แล้วบังเอิญเจอช้างป่า ต้องทำอย่างไร
1. เวลาเพื่อนๆ เข้าไปในป่า แล้วเจอกับช้างป่า หรือแม้กระทั่งสัตว์ชนิดอื่นๆ ให้เพื่อนๆ ท่องให้ขึ้นใจเลยว่า “หยุด ถอย ค่อยๆหลบ” ไม่ว่าจะช้างหรือสัตว์อื่นๆ จะมีจมูกและหูที่ดีมากๆ หากเรารีบวิ่งหนี ส่งเสียงดัง เหมือนเป็นการที่เราไปกระตุ้นสัญชาติของพวกเขา ทำให้พวกเขาตกใจ และจะวิ่งตามเรามาทันที หากไม่ได้เจอประชิดจนเกิดการพุ่งชาร์จ การมีสติจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
2. จากนั้นให้สังเกตอารมณ์ของช้างก่อน ว่าช้างอยู่ในอารมณ์แบบไหน โดยสังเกตจาก ถ้าหูช้างสะบัดไปมา หางแกว่งและใช้งวงสะบัดไปมา หรือกำลังหาอาหารกิน ไม่ค่อยสนใจเรา แสดงว่าช้างกำลังอารมณ์ดี มีโลกส่วนตัวของเขา แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ ช้างหูตั้ง ไม่สะบัดหาง หรือหางชี้ งวงตีพื้นย้ำๆ และอาจจ้องมาที่เรา แสดงว่าสถานการณ์เริ่มไม่ค่อยดี เขารู้สึกว่าเรามีโอกาสเป็นภัยคุกคาม ต้องแสดงท่าที่ยอมแพ้ ค่อยๆถอยออกมา
3. ถ้าเจอในขณะอยู่บนรถ ต้องหยุดรถ ให้ทางช้างป่าเจ้าถิ่น ได้เดินผ่านไปก่อน และทิ้งระยะห่างอย่างน้อยประมาณ 30 เมตร แต่ถ้าช้างเริ่มเดินเข้ามาทางรถเรา ให้ค่อยๆเคลื่อนรถถอยช้าๆแบบมีสติ ใจเย็นๆ โดยเฉพาะเมื่อตกอยู่ในวงล้อมของช้างฝูงที่มักมีช้างเด็กๆ อยู่ด้วย
4. ถ้านอนในเต็นท์แล้วช้างเดินเข้ามาใกล้ ตั้งสติให้มั่น สงบแต่ระวังตนเอง เตรียมตัวให้ขยับได้ไว อย่าทำให้ช้างตกใจ จนอาจเลือกทำลายเต็นท์ ในจิตใจก็ขอให้คิดในทางบวก ให้ต่างคนต่างไป เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่สัตว์ป่ารับรู้ความเป็นมิตรหรือเป็นภัยหรือความกลัวจากเราได้จริง
5. ถ้าต้องวิ่ง กรณีช้างเลือกโจมตี ก่อนที่จะวิ่งสุดชีวิตให้ดูตั้งแต่ 15 วินาทีแรกเลยว่า ทางแบบไหนช้างตามไม่สะดวก ได้แก่ ที่ลาดชัน หรือวิ่งหักศอกไปมา จะขึ้นต้นไม้ก็ต้องไปให้สูงเกินงวงตี และแข็งแรง บางท่านเลือกเข้าไปในดงไผ่หนามก็มี ทั้งนี้ถ้าต้องวิ่งก็ไปให้ไวที่สุดและระวังไปด้วยเท่าที่ทำได้เลย
เพียงเท่านี้เราก็สามารถเที่ยวเขาใหญ่ ให้ปลอดภัยจากช้างเจ้าถิ่นได้แล้วครับ
บทความน่าสนใจอื่น ๆ
แคปชั่นแคมป์ปิ้งหน้าฝน: โดนใจสายแคมป์ แม้ฟ้าจะครึ้ม จากใจ Camp One NR
06 ส.ค. 2024
หนีความวุ่นวายในเมืองใหญ่ แล้วออกไป Glamping กลางป่าไผ่ที่จังหวัดชิบะกันดีกว่า
12 ก.ค. 2023
เตรียมตัวแคมป์ปิ้งหน้าฝน
04 พ.ค. 2023
มาสร้างสไตล์การแคมป์ของคุณกัน (Build Your Camping Style)
16 ก.ย. 2024
4 ข้อดีของการอยู่กับธรรมชาติ
22 ก.ย. 2023