Black Design : TATALA” วิถีชีวิตชาวต๋าอู้ การสร้างสรรค์งานวิจิตรศิลป์สี สู่วิถีชาวแคมป์ปิ้ง กับธรรมชาติ เก้าอี้แคมป์ปิ้ง CampOne NR
07 เม.ย. 2023
ความเชื่อ “TATALA” วิถีชีวิตชาวต๋าอู้ การสร้างสรรค์งานวิจิตรศิลป์สี สู่วิถีชาวแคมป์ปิ้ง กับธรรมชาติ
.
.
ใครผ่านไปผ่านมาที่แคมป์วันทุกสาขา หลายๆท่านอาจจะได้เห็นเก้าอี้ ที่มีลายพิเศษสวยงามตั้งอยู่ที่ร้านแคมป์วัน บางท่านอาจจะอยากทราบที่มาของภาพ
วันนี้แอดมินเองจะนำเสนอเรื่องราว ทางศิลปะ ชีวิตและธรรมชาติ ตามบริบท ของ #BlackDesign ที่ว่า ART x LIFE x NATURE
ภาพสีน้ำมัน ที่ถูกถ่ายทอดมาลงบนลายผ้าเก้าอี้ #BlackDesign
ตัวขวามือ สีฟ้าน้ำทะเลและมีอะไรแหลมๆ สีแดงขาว อยู่ตรงกลางภาพนี้
ชื่อภาพว่า The Story of Ping Pangzhou (TATALA).
.
“ภาพบรรยาย เรื่องราวของเกาะ เปรียบโรงละครแห่งท้องทะเลกับเรือTATALA ที่จอดอยู่ ปลาบินกระโดด แสงและเงาที่เงียบสงบ”
“品名:拼板舟的故事
海洋劇場中,停泊的拼板舟、跳躍的飛魚,當樂聲響起,靜謐的光影中,敘述著這島嶼的故事。#MinChungC”
รังสรรค์จากความคิดและปลายพู่กันของท่าน明中 Chuang, Min – Chung ท่านอจ.จ้วงหมิง โดย ท่าน ศจ พิเศษและศิลปินที่โด่งดังในไต้หวัน ผู้อำนวยการกรมศิลปากรมหาวิทยาลัยการศึกษาแห่งชาติไถจง ศาสตราจารย์พิเศษกรมศิลปากรมหาวิทยาลัยครูแห่งชาติไต้หวัน
莊明中 Chuang, Min – Chung ท่านอจ.จ้วงหมิง โดย ท่านเติบโตที่ชายฝั่งไต้หวันและในวัยเด็ก ท่านก็ใกล้ชิดกับ “ปลา” ในชีวิตของท่าน ไต้หวันตั้งอยู่บนเกาะกลางมหาสมุทรและมีลักษณะเป็น “ปลา” จากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของไต้หวันและการผสมผสานของวัฒนธรรมที่หลากหลายผลงานชุดนี้ใช้การผสมผสานระหว่าง “ปลา” และทิวทัศน์ของไต้หวันเพื่ออธิบายถึงการทำงานหนักของชาวไต้หวัน ความพึงพอใจ ในธรรมชาติ มุมมองของ ชีวิตและการสำรวจวิวัฒนาการของอารยธรรมโบราณในโลก โดยเฉพาะชนเผ่าต๋าอู้ (達悟) ในไต้หวัน
ลายภาพเขียนของท่าน เป็นการนำเสนออัตลักษณ์ที่โดดเด่นด้านความงาม ระหว่างขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมท้องถิ่น ชุดความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมผ่านรูปแบบขององค์ประกอบตามช่วงเวลาและสภาพแวดล้อม การสร้างสรรค์ของท่าน อจ ในช่วงสามปีที่ผ่านมา (2552 ~ 2554) รูปแบบปละแนวคิดได้รับการพัฒนาโดยใช้รูปภาพของ ปลา ผีเสื้อ โครงกระดูกไก่ และไดโนเสาร์ ฝึกฝนผ่านเทคนิคการวาดภาพสีน้ำมันและความคิดร่วมสมัยและใช้แนวคิดเช่นภาพตัดต่อ “ภาพตัดต่อ” เพื่อแสดงวิวัฒนาการของอารยธรรมโบราณ จากความสัมพันธ์ระหว่าง “คน” “ปลา” และ “ธรรมชาติ” สำรวจความหมายทางวัฒนธรรมท้องถิ่น และอารยธรรมโบราณของชาวเต๋า ที่ท่านยกย่องการดูแลและเป็นชนเผ่าและจุดเริ่มต้นกำเนิดดินแดนและอารยธรรมของมนุษย ในเกาะไต้หวัน สะท้อนและอธิบายผ่านภาพเรือ TATALA .
.
.
ตาลาล่า ภาษาพื้นบ้าน เรียกเรือ ชนิดนี้ว่า พินป่านโจว (拼板舟, pīnbǎnzhōu) หรือที่เรียกในชื่อภาษาต๋าอู้ว่า “TATALA” ตาตาล่า
เรือซึ่งเป็นของชนเผ่าต๋าอู้ (達悟) ที่เกาะหลานหยวี่ (蘭嶼) เกาะเล็กๆทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะไต้หวัน
เรือที่ชาวเผ่าต๋าอู้ สร้างขึ้นเองด้วยมือ ว่ากันว่าผู้ชายคนไหนที่สร้างเรือด้วยตัวเองแล้วเรือสามารถใช้งานได้ จะได้การยอมรับนับถือจากคนอื่น เป็นวิถีลูกผู้ชายของชาวชนเผ่า TATALA สร้างจากไม้ทั้งลำ
คนสร้างต้องเริ่มตั้งแต่ไปตัดไม้ในป่ามาทำเรือ ซึ่งต้นไม้นั้น เป็นของเค้าเอง เด็กผู้ชายทุกคนพอเกิดมาแล้วพ่อจะพาไปปลูกต้นไม้ในป่า แล้วต้นไม้ต้นนั้นจะเป็นของเค้าคนเดียว พอเค้าโตเป็นหนุ่มเค้าก็จะมีสิทธิ์ไปตัดต้นไม้ต้นนั้นมาสร้างเรือ
ชาวต๋าอู้ดำรงชีวิตโดยการประมงเป็นหลัก ดังนั้นเรือจึงมีความสำคัญมากสำหรับพวกเขา
ซึ่งเรือที่พวกเขาได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานโดยมีความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองนี้
เรือนี้มีลักษณะที่คล้ายกับเรือญี่ปุ่นอยู่จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีความเชื่อมโยงกัน แต่โดยรายละเอียดแล้วก็ไม่มีใครรู้ที่มาแน่ชัด
ภาษาต๋าอู้ตั้งแต่อดีตมาไม่มีอักษรเป็นของตัวเอง ดังนันจึงไม่มีการบันทึกอะไรเป็นลายลักอักษรไว้เลย ยากจะสืบค้นอะไรต่างๆในอดีต
ชาวต๋าอู้และเกาะหลานหยวี่ ไต้หวันนั้นแม้ว่าจะเป็นที่รู้กันว่าประกอบขึ้นจากประชากรชาวจีนเป็นหลัก แต่ว่าในความจริงแล้วคนจีนเพิ่งมาอาศัยอยู่เมื่อช่วงปลายยุคราชวงศ์หมิงเท่านั้น และได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของจีนในยุคราชวงศ์ชิงก่อนหน้านั้นมีชนเผ่าที่อยู่ในไต้หวันมากมาย ทั้งในเกาะไต้หวันและเกาะเล็กๆในบริเวณ เผ่าต๋าอู้ก็เป็นหนึ่งในนั้น
เดิมทีเกาะหลานหยวี่นั้นไม่ได้ตกเป็นของจีนพร้อมกับเกาะไต้หวัน ชนเผ่าต๋าอู้จึงอยู่โดยอิสระมานานกว่าชนเผ่าอื่นในไต้หวัน เกาะนี้เป็นอิสระอยู่จนกระทั่งในปี 1877 จึงมีการผนวกรวมเกาะนี้เข้ากับจีน สังกัดอยู่มณฑลไต้หวัน
พอมาถึงปี 1895 จีนแพ้สงครามกับญี่ปุ่นทำให้ต้องยกเกาะไต้หวันให้ญี่ปุ่นทั้งหมด เกาะหลานหยวี่เองก็อยู่ในขอบเขตของไต้หวัน ดังนั้นก็โดนยึดไปด้วย จึงอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นจนถึงปี 1945 จึงคืนให้จีน
.
ดังนั้นชาวต๋าอู้รุ่นแก่ๆจะใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นแต่ใช้ภาษาจีนไม่เป็น ในขณะที่คนรุ่นใหม่ใช้ภาษาจีนเป็นหลัก
.
พูดถึงเรื่องภาษาแล้ว ชาวต๋าอู้มีภาษาเป็นของตัวเองอยู่ ภาษาต๋าอู้ (達悟語) เป็นภาษาในตระกูลภาษาออสโตรนีเซีย เช่นเดียวกับภาษามลายูและฟิลิปปินส์ ปัจจุบันมีแค่ชาวเกาะหลานหยวี่บางส่วนที่ยังคงใช้อยู่ ประชากรบนเกาะมี ๕ พันกว่าคน แต่คนที่พูดเป็นภาษาแม่มีน้อยกว่านั้นเพราะหันไปใช้ภาษาจีนเป็นหลักหมด และมีแต่จะยิ่งค่อยๆหายไป
เผ่าต๋าอู้มีอีกชื่อเรียกว่าเผ่ายามิ (ヤミ族, yamizoku) ชื่อนี้ถูกเรียกโดยคนญี่ปุ่นในสมัยที่ญี่ปุ่นปกครองไต้หวัน ตั้งโดยโทริอิ ริวโซว (鳥居 龍藏) นักมานุษย์วิทยา ชื่อนี้ถูกแปลงเป็นภาษาจีนว่า เผ่าหยาเหม่ย์ (雅美族)
ก่อนหน้านี้ในใต้หวันเองก็เรียกเผ่านี้ว่าเผ่าหยาเหม่ย์มาตลอด แต่ปัจจุบันเนื่องจากเสียงเรียกร้องของชาวเผ่าเอง ก็เลยสนับสนุนให้เปลี่ยนมาเรียกว่าเผ่าต๋าอู้ ซึ่งเป็นชื่อที่ชนเผ่านี้ใช้เรียกตัวเองจริงๆ
คำว่าต๋าอู้มาจากคำว่า Tao ในภาษาต๋าอู้ ในภาษาญี่ปุ่นจะเรียกว่า タオ族 (taozoku) ส่วนชื่อเกาะหลานหยวี่เองก็เรียกในภาษาต๋าอู้ว่า Ponso no Tao แปลตรงๆว่า “เกาะของคน”
ลวดลายบนตัวเรือใช้สีขาวดำแดง โดยสีขาวทำจากหินปูนเปลือกหอย (CaCO3) สีแดงทำจาก Fe2O3 ส่วนสีดำทำจากเถ้าถ่าน
ลายที่วาดมีอยู่หลากหลาย แต่ละหมู่บ้านก็มีรูปแบบของตัวเอง แต่โดยรวมๆสิ่งที่มักจะต้องมีอยู่ก็คือ สัญลักษณ์ตาเรือ กับรูปคน และริ้วลายที่ขอบ
สัญลักษณ์ตาเรือนี้จะติดอยู่ที่หัวและท้ายเรือ ข้างละ ๒ ดังนั้นเรือทุกลำจะมี ๔ ตา
ส่วนรูปคน มีลักษณะที่หลากหลาย ชาวต๋าอู้เองก็ยังไม่ได้รู้แน่ชัดว่าหมายถึงอะไร จากการวิจัยของนักวิชาการชาวญี่ปุ่น Tadao Shikano รูปแบบมนุษย์ถือเป็น Magamaog นักรบในตำนานของ Dawu MAGAMAOG สอนให้ชาว Dawu มีทักษะในการทำเรือต่อจิ๊กซอว์การตกปลาและการทำฟาร์มเพื่อเป็นการขอบคุณและระลึกถึงเขาชาว Dawu ใช้ลวดลายรูปคนบนเรือตัวต่อและของใช้ต่างๆเป็นของประดับตกแต่ง
1. ตำนานเล่าว่ารูปแบบมนุษย์เป็นรูปแบบที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยปีศาจซึ่งแต่ละรูปแบบแสดงถึงความหมายที่แตกต่างกัน
2. ฮีโร่ที่เป็นตัวแทนของครอบครัวและยอดตระกูลของแต่ละตระกูล
แม้จะไม่รู้ว่าข้อไหนถูก ไม่รู้ความหมายแน่ชัด แต่ก็เป็นธรรมเนียมมาช้านานว่าจะต้องวาดอยู่บนเรือ แล้วรูปนี้ก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของชาวต๋าอู้ไปแล้ว
ส่วนลายที่ขอบนั้นจะเป็นเส้นหยึกหยักที่เป็นสีขาวสลับดำและมีแถบสีแดงคั่น รูปแบบลายมีอยู่หลากหลายไม่แน่นอนแล้วแต่ลำ
.
ลวดลาย หากแบ่งตามขนาดและวัตถุประสงค์การใช้งานแล้วพินป่านโจวอาจแบ่งได้เป็น ๒ ขนาด คือเรือขนาดเล็กประมาณ ๓ เมตรคนนั่ง ๒-๓ คนใช้เพื่อการประโมง และขนาดใหญ่ประมาณ ๗ เมตร คนนั่งได้ ๑๐ คน เอาไว้ใช้ในการประกอบพิธี เรือใหญ่จะเรียกว่า cinedkeran
เป็นไงบ้างครับ #BlackDesign … ศิลปะ ชีวิต และ ธรรมชาติ ART x LIFE x NATURE หลักการทำงานและการออกแบบ ทุกอย่างเป็นไปตามหลักคิดและธรรมชาตินี่ละครับ #BlackDesign
.
.
#BlackDesignThailand #BlackDesignTaiwan #CampOne
Credit : FB ท่าน อาจารย์ https://www.facebook.com/lanternartfish
บทความน่าสนใจอื่น ๆ
แคปชั่นแคมป์ปิ้งหน้าฝน: โดนใจสายแคมป์ แม้ฟ้าจะครึ้ม จากใจ Camp One NR
06 ส.ค. 2024
ผิงไฟในเต็นท์ คลายหนาว อันตรายถึงชีวิต!!!
22 ธ.ค. 2023
พิชิตยอดเขาล่องเรือตาหมื่นอัญมณีแห่งบ้านมุง สายลุยต้องไม่พลาด
12 ก.ค. 2023
รีวิว เตาฟืนจาก minimal works Vulcan M,L
22 มิ.ย. 2023
MINIMAL WORKS LUNCHBOX BANHAP PAN
12 มิ.ย. 2024